จะจัดการกับอาการคันศีรษะให้ได้ผลลัพธ์ เราก็ต้องรู้สาเหตุหรือต้นตอของอาการคันก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้น จะเข้าตำราที่ว่า “เกาไม่ถูกที่คัน” แปลไทยเป็นไทยว่า เกายังไงก็ไม่หายคัน เพราะยังไม่รู้หรือยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่เจอ
มาๆ วันนี้แอดจะพาเพื่อนๆ ไปดูกันให้รู้ชัดไปเลย ทีนี้ละก็ “เกาแล้วจะหายคันแน่ๆ”
- คันจากรังแคบนหนังศีรษะ โดยมากแล้วรังแคกับหนังศีรษะแห้งจะมีลักษณะที่คล้ายกันมาก แต่ความต่างก็คือ หนังศีรษะแห้งจะเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ใช้น้ำอุ่นหรืออุณหภูมิสูงเกินไปในการสระผม ใช้ความร้อนเป่าผมบ่อยเกินไป หรือเลือกชนิดแชมพูไม่เหมาะกับสภาพหนังศีรษะของเรา เป็นต้น ส่วนรังแคนั้นมักเกิดจากการที่ต่อมไขมันที่หนังศีรษะมีการผลิตไขมันออกมากกว่าปกติและดันหนังศีรษะให้หลุดลอกออกมาเกิดเป็นรังแคได้ วิธีแก้รังแค ก็คือเลือกใช้แชมพูที่อ่อนโยน ที่เหมาะกับสภาพหนังศีรษะ ที่มีสารเคมีหรือใส่น้ำหอมมากเกินไป แอดแนะนำให้ไปพบปรึกษาแพทย์ หากเปลี่ยนแชมพูแล้วยังไม่ได้ผล
- มีแชมพูหรือสารเคมีตกค้างอยู่ หรือล้างแชมพูออกไม่หมด จะทำให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ที่หนังศีรษะ ทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้น หรือสารเคมีที่อยู่ในยาย้อมผมดำ เช่น PPD (para-phenylenediamine) เกิดอาการคันที่หนังศีรษะหรือเป็นผื่นแดงเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการเลือกผลิตภัณท์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะจึงค่อนข้างสำคัญ
- คันจากลมพิษ ลักษณะของลมพิษคือปื้นสีชมพูแดงและคันด้วย สามารถเกิดขั้นได้ทั่วผิวหนังรวมถึงที่หนังศีรษะด้วย จะเป็นๆ หายๆ และในบางคนปื้นคันๆ นี้จะอยู่ยาวได้ถึง 1-2 เดือนเลยทีเดียว
- คันจากเหา พวกเราอาจมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเป็นเหาในวัยเด็กกันแทบทุกคน เหาเป็นแมลงตัวเล็กขนาด 3-4 มม. อาศัยอยู่บนหนังศีรษะของเราและกินเศษขี้ไคลเป็นอาหาร น้ำลายของเหาทำให้เกิดการระคายเคืองและคันที่หนังศีรษะ ส่วนมากเราจะไม่รู้ตัวว่ามีเหาอยู่บนศีรษะของเรา อาจต้องอาศัยคนใกล้ชิดช่วยดูให้เรา การกำจัดเหา ไข่เหา ทำได้โดยการใช้ยากิน หรือครีม เจลทาฆ่าแมลง หรือการใช้หวีถี่ๆ ที่โบราณเรียกว่าหวีเสนียดมาสางให้ใข่เหาหลุดออกจากเส้นผมเพื่อตัดวงจรการเติบโต
scalp very itching - คันจากหิด มีการบันทึกอาการของหิดไว้กว่า 2,500 ปีมาแล้ว แต่เพิ่งมาค้นพบว่าโรคหิดมีสาเหตุมาจากตัวหิด ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กๆ ตระกูลเดียวกับตัวไรเมื่อ พ.ศ. 2230 นี้เอง หิดจะคลานหาที่เหมาะๆและขุดเจาะผิวหนังชั้นบนจนเป็นโพรงแล้ววางไข่วันละ 2-3 ฟองต่อวัน ใช้เวลาฟักตัว 3-4 วัน หิดตัวเมียจะออกมาขุดรูที่ผิวหนังของเราต่อไปเรื่อยๆ วันละ 2-3 มม. กลายเป็นโพรงหยึกหยักคล้ายงูเลื้อยพร้อมวางไข่ ส่วนหิดตัวผู้ก็จะคลานออกมาจากรูเพื่อไปหารูใหม่ของตัวเมียเพื่อผสมพันธ์แล้วก็ตาย (ทำหน้าที่เสร็จแล้วก็เสียชีวิตเลยค่า ฮาฮา) หิดก็เหมือนเหาไม่สามารถกระโดดได้ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถ่ายทอดจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งด้วยการสัมผัสใกล้ชิด หิดจะมีลักษณะเป็นผื่นเป็นตุ่มแดง ตุ่มหนอง หรือผื่นที่เกิดจากอาการเกา ซึ่งผื่นนี้จะมีลักษณะเป็นรอยนูนคดๆเคี้ยวๆคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ที่ผิวหนัง ความยาว 5 – 15 มม. ซึ่งเกิดจากเชื้อของตัวเมียที่ไชลงไปในหนังชั้นบนหรือหนังกำพร้านั่นเอง จะคันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน อาการคันเกิดจากปฎิกิริยาภูมิไวต่อหิดตัวเมีย ต่อไข่หิด และต่อมูลหิด ในบางคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง สมองพิการ ขาดสารอาหาร เป็นมะเร็ง หรือได้รับยากดภูมิต้านทานของร่างกาย อาจมีเชื้อหิดจำนวนมากทำให้ปรากฏรอยโรคเป็นสะเก็ดทั่วตัว (crusted หรือ Norwegian scabies) ซึ่งต่างจากรอยโรคทั่วไป
scalp itching - คันจากโรคกลากที่ศีรษะ อาการคันคล้ายรังแค จะตกสะเก็ดเป็นจุด รู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัส มีลักษณะเป็นผื่นแดงๆ มีขอบเขตชัดเจน เกิดจากเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่บริเวณผิวหนังระดับเนื้อเยื่อโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน ของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เช่น รังแคบนหนังศีรษะ แต่ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายหรือเยื่อบุผิวหนังอย่างเช่นจมูกหรือปากได้ เชื้อรามีลักษณะเป็นสปอร์ขนาดเล็ก คล้ายสปอร์ของเห็ดที่เกิดจากเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ สิ่งของ หรือพื้นดินได้อย่างยาวนานหลายเดือน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แพร่กระจายโรคได้จากการสัมผัสใกล้ชิดเช่นที่นอน หมอน มุ้ง หรือได้รับสปอร์ ส่วนใหญ่คนไม่ค่อยรู้จึงไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ยารักษาการติดเชื้อราอันได้แก่ คีโตโคนาโซล โคลไตรมาโซล หรือไมโคนาโซล
- คันจากโรคสะเก็ดเงิน สาเหตุจากการปรวนแปรของภูมิคุ้มกันของร่างกาย และไปกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง เป็นโรคทางพันธุกรรมและสิ่งกระตุ้นจากภายนอกได้ด้วย พบได้บ่อยในช่วงอายุ 20 ปี และ 40 ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ 1 – 2 ของประชากรทุกเชื้อชาติ ทั้งเพศหญิงและเพศชายเท่ากัน เป็นผื่นหนาสีแดง มีขอบชัดเจน คลุมด้วยขุยหนาขาวคล้ายสีเงิน ซึ่งสามารถขูดออกได้ง่าย และเมื่อขูดขุยหมดจะมีจุดเลือดออกบนรอยผื่น เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังแต่ไม่ติดต่อ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุที่จะทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ เช่น การดื่มเหล้า ความเครียด เป็นต้น การรักษาคือยาทา ยากิน ยาฉีด หรือการฉายแสง
- คันจากผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (ATOPIC DERMATITIS) พบบ่อยในเด็ก เป็นๆ หายๆ อาการคันมาก เป็นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใสเมื่อแตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลเยิ้มแล้วกลายเป็นสะเก็ดแข็งๆ ถ้าผื่นนี้เป็นมานานเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะพบเป็นแผ่นหนาแข็ง มีขุย ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันได้ตามวัยของผู้ป่วยในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรก ผื่นผิวหนังอักเสบจะพบมากบริเวณใบหน้า ศีรษะ การรักษาต้องทำการทดสอบเพื่อหาสาเหตุของสารหรือสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ทางผิวหนัง เช่นแพ้อาหารทะเล แพ้ละอองเกสร แพ้ขนสัตว์เป็นต้น
- คันจากเส้นประสาทมีความผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน งูสวัด หรือเกิดแผลเป็นที่หนังศีรษะ ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นเกิดความผิดปกติขึ้นและเกิดอาการคันได้
- คันจากโรคมะเร็งผิวหนัง ส่วนใหญ่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด การสัมผัสกับสารพิษสารอันตรายเป็นเวลานานๆ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ มีตุ่มนูน ที่มีลักษณะหนาแข็ง โดยผิวหนังบริเวณฐานของตุ่มจะแดง มีแผลตกสะเก็ดจากการโดนแสงแดดติดต่อกันบ่อย ๆ เป็นเวลานาน
มีไฝหรือขี้แมลงวันรูปร่างผิดปกติ มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขยายขนาดเร็ว หรือมีสีที่แตกต่างจากทั่วไป
การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง หรือมีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย